ดูที่นี่ 30 บาทรักษาทุกที่ สปสช. ใช้ได้จริง ขั้นตอนไม่ซับซ้อน สิทธิบัตรทองใช้ได้ที่ไหนบ้าง กรณีเจ็บป่วยใช้สิทธินอกพื้นที่ ต้องไปที่ไหน วันนี้ (28 เม.ย.65) ประชาชนที่เข้ารับบริการ ณ รพ.สต.วัดพระญาติการาม และโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ภายใต้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ออกมาเล่าประสบการณ์ใช้สิธบัตรทองในการเข้ารับการรักษาตัวตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ โดย “นางสุพรรณี” หนึ่งในผู้มาเข้าใช้บริการ เปิดเผยว่า
เดิมสิทธิของตนอยู่ที่โรงพยาบาลใน จ.นครราชสีมา
แต่ปัจจุบันได้ย้ายถิ่นฐานมาทำงานที่ จ.พระนครศรีอยุธยา จึงเลือกเข้ารับการรักษาที่ รพ.สต.วัดพระญาติการาม เพราะใกล้ที่สุด ซึ่งแม้ตนเองจะย้ายมาจากจังหวัดอื่นและไม่ได้ทำการย้ายสิทธิใดๆ ก็ยังสามารถรักษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายได้เหมือนเดิม
สำหรับขั้นตอนการเข้ารับบริการก็ไม่ต่างไปจากการรับบริการที่เคยใช้ เช่น มีการตรวจสอบสิทธิ ซักประวัติ ฯลฯ ซึ่งทำให้สะดวกสบายมากขึ้นในการเข้ารับการรักษา ไม่ต้องกลับไปใช้สิทธิตามที่ลงทะเบียนไว้เพียงแห่งเดียว ส่วนมาตรฐานการบริการค่อนข้างดีมีความสะดวกสบาย ไม่ค่อยมีความแออัด
การรอคิวหรือขั้นตอนเป็นไปตามปกติ ไม่มีอะไรติดขัดหรือซับซ้อน โดยการใช้สิทธิตามนโยบายดังกล่าวครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายส่วนใดเพิ่มเลย
อนึ่ง นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เป็นนโยบายการยกระดับบัตรทองของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข (สธ.) ที่ได้เริ่มนำร่องเมื่อ ปี พ.ศ.2564 และต่อยอดครอบคลุมทั่วประเทศเมื่อต้นปี พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา
โดยหากประชาชนมีอาการเจ็บป่วย สามารถเข้ารับบริการรักษาที่หน่วยปฐมภูมิได้ฟรีทุกที่ทั่วประเทศ ไม่เฉพาะตามสิทธิที่ลงทะเบียนไว้ รวมถึงไม่จำเป็นต้องมีการส่งตัวกลับไปรักษาที่หน่วยบริการที่ลงทะเบียนไว้เหมือนในอดีต
หลักการของนโยบายนี้คือประชาชนสิทธิบัตรทองยังคงเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลประจำของตัวเองซึ่งได้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์ไว้ แต่กรณีอยู่ต่างพื้นที่และเกิดเจ็บป่วยขึ้น สามารถเข้ารักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิในระบบบัตรทองที่อยู่ใกล้ได้ โดยประชาชนไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัวเพื่อนำมายื่นในภายหลัง หรือถูกเรียกเก็บค่ารักษาเหมือนในอดีต โดยหน่วยบริการจะเรียกเก็บค่ารักษาจาก สปสช.แทน เป็นการเพิ่มคุณภาพและความสะดวกการรับบริการ ตามนโยบาย “ยกระดับบัตรทอง”
ทั้งนี้ บริการสุขภาพปฐมภูมิ คือ บริการสุขภาพด่านแรกของระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทในการดูแลสุขภาพประชาชนในท้องถิ่นโดยเน้นการป้องกันไม่ให้ป่วย หากเจ็บป่วยจะได้รับการดูแลรักษาเบื้องต้น (และครอบคลุมในกรณีที่จำเป็นจะต้องส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่รักษาโรคซับซ้อนมากขึ้น) ทั้งนี้รวมถึงบริการฟื้นฟูสุขภาพด้วย
ตัวอย่างหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.), หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น
บสย. เผย ไตรมาสที่ 1 / 2565 ค้ำประกันสินเชื่อ ไป 4.8 หมื่นล้านบาท
บสย. เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 1 / 2565 โดยสามารถอนุมัติวงเงิน ค้ำประกันสินเชื่อ ไปได้เป็นจำนวนเงิน 4.8 หมื่นล้านบาท (28 เม.ย. 2565) นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผย ผลดำเนินงาน บสย. ไตรมาส 1/2565 (1 ม.ค. – 31 มี.ค.) บรรลุเป้าหมายช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ ได้กว่า 40,593 ราย อนุมัติวงเงิน ค้ำประกันสินเชื่อ จำนวน 48,149 ล้านบาท อนุมัติหนังสือค้ำประกัน จำนวน 41,223 ฉบับ
โดยโครงการค้ำประกันสินเชื่อสูงสุด 3 ลำดับ ได้แก่
1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อตาม พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟูระยะที่ 2 สัดส่วน 44%
2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. สร้างชาติ หรือ PGS 9 ดีแน่นอน สัดส่วน 40%
3.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ ไมโคร 4 รายเล็กเสริมทุน สัดส่วน 4%
บสย. มีสัดส่วนให้การค้ำประกันสินเชื่อผ่านธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 73% และสถาบันการเงินของรัฐอยู่ที่ 27% โดยประเภทธุรกิจที่ บสย. ค้ำประกันสูงสุด 5 ลำดับแรก คือ
1.ธุรกิจบริการ อาทิ รับเหมาก่อสร้าง ขนส่ง โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร 13,000 ล้านบาท (28%)
2.ธุรกิจการเกษตร อาทิ เกษตร ปศุสัตว์และประมง 5,500 ล้านบาท (11%)
3.ธุรกิจการผลิตสินค้าและการค้าอื่นๆ 5,300 ล้านบาท (11%)
4.ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 4,400 ล้านบาท (9%)
5.ธุรกิจเหล็ก ผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องจักร 3,000 ล้านบาท (6%)
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป